เทคโนโลยีสารสนเทศและการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ
วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556
เทคโนโลยีเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ระบบสารสนเทศเพื่อการ บริหารทรัพยากรบุคคล
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยทั่วไป เป็นกระบวนการที่รวบรวม จัดเก็บ บำรุงรักษา และนำมาปรับแก้ไขอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ระบบสารสนเทศมีความถูกต้องสมบูรณ์ สามารถนำข้อมูลไปใช้งานด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่จากการที่การบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล มีการพัฒนาและปรับตัวให้ทันสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ภารกิจใหม่ที่นักบริหารด้านทรัพยากรบุคคล ควรให้ความสนใจยิ่งขึ้น เช่น การวิจัยและพัฒนาทางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นการหาแนวทางเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร ซึ่งก็ถือว่ามีความสำคัญ มากต่อการพัฒนาองค์กร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สารสนเทศทางด้านทรัพยากรบุคคล สามารถนำไปใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงควรคำนึงถึงองค์ประกอบทางด้านบุคลากร (Human Resources), ด้านสารสนเทศ (Information Technology) และ ด้านการบริหาร (Management) มาประกอบกัน แล้วสร้างเป็น
ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (Human Resources Information System : HRIS)
ข้อมูลบุคลากรเป็นสิ่งจำเป็น และมีความสำคัญต่อการบริหารงานในองค์กร ดังนั้น ในแต่ละองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลสารสนเทศทางด้านทรัพยากรบุคคล มากขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหาร การวาง แผนกำลังคน การพัฒนาและฝึกอบรม ฯลฯ องค์กรจึงหาทางเพื่อปรับปรุงระบบการจัดการแบบใหม่ เข้ามาใช้แทนระบบเดิม ซึ่งเต็มไปด้วยแฟ้มข้อมูล กระดาษ เอกสารต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บอีกด้วย ดังนั้น เราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบงานก่อนปฏิบัติงานจริง เพราะระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ นอกจากมีประโยชน์มากในการบริหารงานแล้ว ยังมีโทษมหันต์หากมีผู้แอบนำสารสนเทศไปใช้ใน ทางไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายตามมา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขึ้น เพื่อผลิตฐานข้อมูลไว้คอยสนับสนุนแก่องค์กร และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ การพัฒนาคุณภาพ ของบุคลากรในองค์กร
โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารข้อมูลบุคลากร
ซอฟต์แวร์บริหารงานบุคคลที่มีอยู่ในบ้านเรานั้น มีทั้งที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศโดยบริษัทคนไทย เช่น PisWin, HRII, HR Enterprise เป็นต้น และบางโปรแกรมได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น PeopleSoft, Oracle, SAP เป็นต้น ทั้งนี้ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเองโดยคนไทยนั้น จะมีข้อดีตรงที่เป็นระบบที่ตรงกับความต้องการมากกว่า เพราะได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาพแวดล้อม (Condition & Environment) ในประเทศ ที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่น เช่น ในเรื่องของภาษี, การให้สวัสดิการ, ข้อกำหนดทางกฎหมาย เป็นต้น ส่วนโปรแกรมที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทั่วไปของโลก ซึ่งถ้ามีการนำมาใช้จะต้องนำมาปรับปรุง (Modification) ในบางโมดูล (Module) หรือในบางโมดูลอาจจะใช้ไม่ได้เลย ทำให้ต้องหาโมดูลดังกล่าวจากโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ มาประยุกต์ใช้รวมอยู่ด้วย
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการบริหารงานบุคคล
1. ระบบงานวางแผนกำลังคน (Man Power Planning) แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของอัตรากำลัง, อัตราการเข้า - ออกของบุคลากร
2. ระบบงานทะเบียนประวัติ (Central Database) ช่วยในการเก็บข้อมูลด้านประวัติส่วนตัวของบุคลากร ประวัติการทำงาน ฯลฯ ซึ่งระบบอื่นๆ สามารถดึงข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้
3. ระบบการตรวจสอบเวลา (Time Attendance) ระบบจะดึงเวลาจากเครื่องรูดบัตร มาเปรียบเทียบกับตารางเวลาทำงานปกติของพนักงาน แล้วรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้นออกมา เช่น การขาดงาน, การมาสาย, การลา, หรือการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
4. ระบบงานด้านการคำนวณเงินเดือน (Payroll) ช่วยในการบริหารเงินเดือน ค่าตอบแทน และภาษี โดยที่ระบบจะทำการคำนวณอัตโนมัติ
5. ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) ช่วยในการกำหนดมาตรฐานในการประเมินผล ช่วยในการบันทึก คำนวณผลลัพธ์ และสรุปการประเมินผลของบุคลากร ในเรื่องการขึ้นเงินเดือนและการเลื่อนขั้นตำแหน่ง
6. ระบบงานพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร (Training and Development) เป็นระบบที่ ช่วยในการวางแผนการพัฒนาบุคลากร
7. ระบบงานสวัสดิการต่างๆ (Welfare) ช่วยในการเก็บบันทึกและบริหารงาน ข้อมูล เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล, เงินกู้, การเบิกวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
8. ระบบการสรรหาบุคลากร (Recruitment) เป็นระบบที่บันทึกข้อมูลการสมัครงาน สามารถสร้างแบบฟอร์มการทดสอบ, แบบฟอร์มสำหรับการสัมภาษณ์งานได้ และเมื่อพนักงานผ่านการคัดเลือกแล้ว ก็สามารถโอนข้อมูลเข้าสู่ระบบรวมได้โดยอัตโนมัติ
โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
การบริหารทรัพยากรบุคคล ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในองค์กร เพราะตระหนักถึงความจำเป็นในการคัดเลือกและการรักษาบุคลากรขององค์กร ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร เพื่อความได้เปรียบในเชิงแข่งขันกับคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน
องค์กรแต่ละแห่งได้พยายามที่จะสร้างระบบ HRIS ของตนเองขึ้น โดยมุ่งเพื่อรองรับการทำงานประจำขององค์กร และเป็นระบบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก แต่การพัฒนาเองดังกล่าว ทำให้ขาดมาตรฐานในการพัฒนา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อบุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบ พ้นสภาพออกไปจากการเป็นพนักงานขององค์กร ซึ่งบางครั้ง องค์กรจำเป็นต้องทิ้งระบบเดิม เพื่อทำการพัฒนาใหม่ ดังนั้นอีกทางเลือกหนึ่งขององค์กรก็คือ การหาโปรแกรมสำเร็จรูปจากภายนอก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงโปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป เปรียบเทียบกับแนวคิดของระบบ HRIS ที่ดีจะพบว่า ส่วนใหญ่แล้วยังเป็นระบบที่ยังไม่สมบูรณ์ มีเพียงบางโปรแกรมเท่านั้นที่มีระบบครบถ้วน ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมมีราคาแพง โปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป มักจะเน้นระบบงานด้านทะเบียนประวัติของบุคลากรโดยรวม ระบบการตรวจสอบเวลาทำงาน และระบบการคำนวณเงินเดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่องค์กรโดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้ แต่ระบบในด้านงานพัฒนาบุคลากร, ด้านการจัดสวัสดิการ, ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ ยังมีรายละเอียดไม่มากนัก โดยเฉพาะระบบที่มีราคาถูกๆ ผู้บริหารจึงขาดความชัดเจนของข้อมูลที่เพียงพอ ในการที่จะนำไปสรุปวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบ ในการวางแผนเพื่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรได้อย่างแท้จริง
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโปรแกรมสำเร็จรูป
ความสามารถในการ รองรับงานประจำของ HR
โปรแกรมสำเร็จรูป ที่นำมาใช้เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น โดยทั่วไปแล้ว จะมีระบบที่สนับสนุนงานประจำของ HR อยู่แล้ว ซึ่งจะแยกเป็นแต่ละโมดูล ให้องค์กรสามารถเลือกได้ตามความจำเป็นขององค์กร แต่สิ่งที่พึงพิจารณาก็คือ ความสามารถทำงานประสานกันระหว่างแต่ละโมดูล และสามารถลดเวลาของการทำงานแบบเดิมได้
ระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจของผู้บริหาร
โปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป ที่มีราคาถูก จะไม่มีส่วนที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร (Executive Information System) ดังนั้น การที่ผู้บริหารต้องการดูข้อมูลเกี่ยวกับ อัตรากำลังคน, อัตราการ Turn Over, ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร, แผนการพัฒนาบุคลากร, การกำหนด Career Path ฯลฯ แล้วระบบสามารถแสดงผลออกมาได้ในทันที อาจจะอยู่ในรูปแบบของรายงาน หรือกราฟ ก็จะทำให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การที่มีระบบ Work Flow ก็ยิ่งทำให้กระบวนการสื่อสารภายในองค์กร มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
ด้านเทคนิคและการบริการ
โปรแกรมสำเร็จรูปที่ดี จะต้องช่วยลดเวลาในการทำงานแบบเดิมขององค์กรลงได้ ทั้งยังลดจำนวนเอกสารต่างๆ ลงได้ด้วยเช่นกัน ข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน ระบบควรจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ทะเบียนจังหวัด, ทะเบียนการวุฒิการศึกษา, ตารางภาษี, ฯลฯ เพื่อผู้ใช้จะได้ไม่เสียเวลากรอก นอกจากนี้ ข้อมูลด้านตัวเลขก็ควรมีการคำนวณอัตโนมัติ เช่น อายุ, อายุงาน โดยระบบควรจะต้องคำนวณให้จนถึง ณ เวลาปัจจุบัน
นอกจากนี้ ควรที่จะมีโปรแกรมเสริมอื่นๆ เช่น โปรแกรมการสร้างผังองค์กร, โปรแกรมการพิมพ์บัตรพนักงาน, โปรแกรมการออกหนังสือเวียน หรือเอกสารรับรองต่างๆ และต้องมีความยืดหยุ่นต่อเงื่อนไขและนโยบายขององค์กร เช่น เงื่อนไขในการจ่ายค่าตอบแทน, เงื่อนไขในการจ่ายสวัสดิการ ซึ่งในส่วนนี้ โปรแกรมที่ดีจะใช้วิธีการเปิดให้ผู้ใช้กำหนดเงื่อนไขเองได้ ในลักษณะของการเขียนสูตร โดยบริษัทผู้พัฒนาระบบจะต้องมีทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาเมื่อจำเป็น
ประการที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องของระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นความลับขององค์กร ระบบควรมีการป้องกันข้อมูลโดยการเข้ารหัส และกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ เพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีแอบเข้าไปใช้ข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการสำรองข้อมูลในกรณีเมื่อเกิดความเสียหายกับระบบ
ด้าน HR Information Center
สิ่งหนึ่งที่ระบบ HRIS ควรจะมีเพิ่มเติม โดยเฉพาะในองค์กรที่มีระบบเครือข่ายภายใน (Network) เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร และให้ข้อมูลกับบุคลากรภายในองค์กร เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับบุคลากรในองค์กร โดยที่บุคลากรสามารถรับทราบถึงข้อมูลต่างๆ ที่ควรรู้ได้ตลอดเวลา ในลักษณะของการบริการตนเอง หรือ Employee Service Center (ESC) เช่น
1. ระเบียบและข้อบังคับใน การปฏิบัติงาน
2. ข่าวสารใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
3. ปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
4. ตารางวันหยุด - วันทำงานขององค์กร
5. ขั้นตอนการปฏิบัติใน องค์กร เช่น การลาประเภทต่างๆ, ระเบียบเกี่ยวกับการใช้สวัสดิการ, ฯลฯ เป็นต้น
6. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, การติดต่อกับหน่วยงานราชการ, ความรู้ด้านภาษีเงินได้, สิทธิเกี่ยวกับประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน, ฯลฯ เป็นต้น
บทสรุป
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ผู้บริหารควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกระบบ HRIS คือต้องแน่ใจว่าระบบดังกล่าว สามารถรองรับการทำงานที่องค์กรต้องการได้ เพราะเวลาที่มีการนำเสนอ ผู้พัฒนาระบบมักจะบอกว่า ระบบของตนทำอย่างนั้นได้ ทำอย่างนี้ได้ แต่มักจะไม่บอกว่า "ทำอย่างไร?" เมื่อติดตั้งระบบแล้ว ผู้ใข้จึงจะพบปัญหา ซึ่งก็อาจจะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร และกับบุคลากรขององค์กร เพระเราถือว่า ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม ถึงแม้องค์กรจะมีระบบที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าบุคลากรภายในองค์กรไม่มีคุณภาพ และการขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารแล้ว ระบบที่ดี ก็ไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/17622/
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยทั่วไป เป็นกระบวนการที่รวบรวม จัดเก็บ บำรุงรักษา และนำมาปรับแก้ไขอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ระบบสารสนเทศมีความถูกต้องสมบูรณ์ สามารถนำข้อมูลไปใช้งานด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่จากการที่การบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล มีการพัฒนาและปรับตัวให้ทันสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ภารกิจใหม่ที่นักบริหารด้านทรัพยากรบุคคล ควรให้ความสนใจยิ่งขึ้น เช่น การวิจัยและพัฒนาทางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นการหาแนวทางเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร ซึ่งก็ถือว่ามีความสำคัญ มากต่อการพัฒนาองค์กร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สารสนเทศทางด้านทรัพยากรบุคคล สามารถนำไปใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงควรคำนึงถึงองค์ประกอบทางด้านบุคลากร (Human Resources), ด้านสารสนเทศ (Information Technology) และ ด้านการบริหาร (Management) มาประกอบกัน แล้วสร้างเป็น
ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (Human Resources Information System : HRIS)
ข้อมูลบุคลากรเป็นสิ่งจำเป็น และมีความสำคัญต่อการบริหารงานในองค์กร ดังนั้น ในแต่ละองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลสารสนเทศทางด้านทรัพยากรบุคคล มากขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหาร การวาง แผนกำลังคน การพัฒนาและฝึกอบรม ฯลฯ องค์กรจึงหาทางเพื่อปรับปรุงระบบการจัดการแบบใหม่ เข้ามาใช้แทนระบบเดิม ซึ่งเต็มไปด้วยแฟ้มข้อมูล กระดาษ เอกสารต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บอีกด้วย ดังนั้น เราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบงานก่อนปฏิบัติงานจริง เพราะระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ นอกจากมีประโยชน์มากในการบริหารงานแล้ว ยังมีโทษมหันต์หากมีผู้แอบนำสารสนเทศไปใช้ใน ทางไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายตามมา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขึ้น เพื่อผลิตฐานข้อมูลไว้คอยสนับสนุนแก่องค์กร และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ การพัฒนาคุณภาพ ของบุคลากรในองค์กร
โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารข้อมูลบุคลากร
ซอฟต์แวร์บริหารงานบุคคลที่มีอยู่ในบ้านเรานั้น มีทั้งที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศโดยบริษัทคนไทย เช่น PisWin, HRII, HR Enterprise เป็นต้น และบางโปรแกรมได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น PeopleSoft, Oracle, SAP เป็นต้น ทั้งนี้ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเองโดยคนไทยนั้น จะมีข้อดีตรงที่เป็นระบบที่ตรงกับความต้องการมากกว่า เพราะได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาพแวดล้อม (Condition & Environment) ในประเทศ ที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่น เช่น ในเรื่องของภาษี, การให้สวัสดิการ, ข้อกำหนดทางกฎหมาย เป็นต้น ส่วนโปรแกรมที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทั่วไปของโลก ซึ่งถ้ามีการนำมาใช้จะต้องนำมาปรับปรุง (Modification) ในบางโมดูล (Module) หรือในบางโมดูลอาจจะใช้ไม่ได้เลย ทำให้ต้องหาโมดูลดังกล่าวจากโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ มาประยุกต์ใช้รวมอยู่ด้วย
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการบริหารงานบุคคล
1. ระบบงานวางแผนกำลังคน (Man Power Planning) แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของอัตรากำลัง, อัตราการเข้า - ออกของบุคลากร
2. ระบบงานทะเบียนประวัติ (Central Database) ช่วยในการเก็บข้อมูลด้านประวัติส่วนตัวของบุคลากร ประวัติการทำงาน ฯลฯ ซึ่งระบบอื่นๆ สามารถดึงข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้
3. ระบบการตรวจสอบเวลา (Time Attendance) ระบบจะดึงเวลาจากเครื่องรูดบัตร มาเปรียบเทียบกับตารางเวลาทำงานปกติของพนักงาน แล้วรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้นออกมา เช่น การขาดงาน, การมาสาย, การลา, หรือการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
4. ระบบงานด้านการคำนวณเงินเดือน (Payroll) ช่วยในการบริหารเงินเดือน ค่าตอบแทน และภาษี โดยที่ระบบจะทำการคำนวณอัตโนมัติ
5. ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) ช่วยในการกำหนดมาตรฐานในการประเมินผล ช่วยในการบันทึก คำนวณผลลัพธ์ และสรุปการประเมินผลของบุคลากร ในเรื่องการขึ้นเงินเดือนและการเลื่อนขั้นตำแหน่ง
6. ระบบงานพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร (Training and Development) เป็นระบบที่ ช่วยในการวางแผนการพัฒนาบุคลากร
7. ระบบงานสวัสดิการต่างๆ (Welfare) ช่วยในการเก็บบันทึกและบริหารงาน ข้อมูล เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล, เงินกู้, การเบิกวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
8. ระบบการสรรหาบุคลากร (Recruitment) เป็นระบบที่บันทึกข้อมูลการสมัครงาน สามารถสร้างแบบฟอร์มการทดสอบ, แบบฟอร์มสำหรับการสัมภาษณ์งานได้ และเมื่อพนักงานผ่านการคัดเลือกแล้ว ก็สามารถโอนข้อมูลเข้าสู่ระบบรวมได้โดยอัตโนมัติ
โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
การบริหารทรัพยากรบุคคล ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในองค์กร เพราะตระหนักถึงความจำเป็นในการคัดเลือกและการรักษาบุคลากรขององค์กร ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร เพื่อความได้เปรียบในเชิงแข่งขันกับคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน
องค์กรแต่ละแห่งได้พยายามที่จะสร้างระบบ HRIS ของตนเองขึ้น โดยมุ่งเพื่อรองรับการทำงานประจำขององค์กร และเป็นระบบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก แต่การพัฒนาเองดังกล่าว ทำให้ขาดมาตรฐานในการพัฒนา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อบุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบ พ้นสภาพออกไปจากการเป็นพนักงานขององค์กร ซึ่งบางครั้ง องค์กรจำเป็นต้องทิ้งระบบเดิม เพื่อทำการพัฒนาใหม่ ดังนั้นอีกทางเลือกหนึ่งขององค์กรก็คือ การหาโปรแกรมสำเร็จรูปจากภายนอก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงโปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป เปรียบเทียบกับแนวคิดของระบบ HRIS ที่ดีจะพบว่า ส่วนใหญ่แล้วยังเป็นระบบที่ยังไม่สมบูรณ์ มีเพียงบางโปรแกรมเท่านั้นที่มีระบบครบถ้วน ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมมีราคาแพง โปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป มักจะเน้นระบบงานด้านทะเบียนประวัติของบุคลากรโดยรวม ระบบการตรวจสอบเวลาทำงาน และระบบการคำนวณเงินเดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่องค์กรโดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้ แต่ระบบในด้านงานพัฒนาบุคลากร, ด้านการจัดสวัสดิการ, ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ ยังมีรายละเอียดไม่มากนัก โดยเฉพาะระบบที่มีราคาถูกๆ ผู้บริหารจึงขาดความชัดเจนของข้อมูลที่เพียงพอ ในการที่จะนำไปสรุปวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบ ในการวางแผนเพื่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรได้อย่างแท้จริง
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโปรแกรมสำเร็จรูป
ความสามารถในการ รองรับงานประจำของ HR
โปรแกรมสำเร็จรูป ที่นำมาใช้เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น โดยทั่วไปแล้ว จะมีระบบที่สนับสนุนงานประจำของ HR อยู่แล้ว ซึ่งจะแยกเป็นแต่ละโมดูล ให้องค์กรสามารถเลือกได้ตามความจำเป็นขององค์กร แต่สิ่งที่พึงพิจารณาก็คือ ความสามารถทำงานประสานกันระหว่างแต่ละโมดูล และสามารถลดเวลาของการทำงานแบบเดิมได้
ระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจของผู้บริหาร
โปรแกรมสำเร็จรูปโดยทั่วไป ที่มีราคาถูก จะไม่มีส่วนที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร (Executive Information System) ดังนั้น การที่ผู้บริหารต้องการดูข้อมูลเกี่ยวกับ อัตรากำลังคน, อัตราการ Turn Over, ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร, แผนการพัฒนาบุคลากร, การกำหนด Career Path ฯลฯ แล้วระบบสามารถแสดงผลออกมาได้ในทันที อาจจะอยู่ในรูปแบบของรายงาน หรือกราฟ ก็จะทำให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การที่มีระบบ Work Flow ก็ยิ่งทำให้กระบวนการสื่อสารภายในองค์กร มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
ด้านเทคนิคและการบริการ
โปรแกรมสำเร็จรูปที่ดี จะต้องช่วยลดเวลาในการทำงานแบบเดิมขององค์กรลงได้ ทั้งยังลดจำนวนเอกสารต่างๆ ลงได้ด้วยเช่นกัน ข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน ระบบควรจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ทะเบียนจังหวัด, ทะเบียนการวุฒิการศึกษา, ตารางภาษี, ฯลฯ เพื่อผู้ใช้จะได้ไม่เสียเวลากรอก นอกจากนี้ ข้อมูลด้านตัวเลขก็ควรมีการคำนวณอัตโนมัติ เช่น อายุ, อายุงาน โดยระบบควรจะต้องคำนวณให้จนถึง ณ เวลาปัจจุบัน
นอกจากนี้ ควรที่จะมีโปรแกรมเสริมอื่นๆ เช่น โปรแกรมการสร้างผังองค์กร, โปรแกรมการพิมพ์บัตรพนักงาน, โปรแกรมการออกหนังสือเวียน หรือเอกสารรับรองต่างๆ และต้องมีความยืดหยุ่นต่อเงื่อนไขและนโยบายขององค์กร เช่น เงื่อนไขในการจ่ายค่าตอบแทน, เงื่อนไขในการจ่ายสวัสดิการ ซึ่งในส่วนนี้ โปรแกรมที่ดีจะใช้วิธีการเปิดให้ผู้ใช้กำหนดเงื่อนไขเองได้ ในลักษณะของการเขียนสูตร โดยบริษัทผู้พัฒนาระบบจะต้องมีทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาเมื่อจำเป็น
ประการที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องของระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นความลับขององค์กร ระบบควรมีการป้องกันข้อมูลโดยการเข้ารหัส และกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ เพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีแอบเข้าไปใช้ข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการสำรองข้อมูลในกรณีเมื่อเกิดความเสียหายกับระบบ
ด้าน HR Information Center
สิ่งหนึ่งที่ระบบ HRIS ควรจะมีเพิ่มเติม โดยเฉพาะในองค์กรที่มีระบบเครือข่ายภายใน (Network) เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร และให้ข้อมูลกับบุคลากรภายในองค์กร เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับบุคลากรในองค์กร โดยที่บุคลากรสามารถรับทราบถึงข้อมูลต่างๆ ที่ควรรู้ได้ตลอดเวลา ในลักษณะของการบริการตนเอง หรือ Employee Service Center (ESC) เช่น
1. ระเบียบและข้อบังคับใน การปฏิบัติงาน
2. ข่าวสารใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
3. ปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
4. ตารางวันหยุด - วันทำงานขององค์กร
5. ขั้นตอนการปฏิบัติใน องค์กร เช่น การลาประเภทต่างๆ, ระเบียบเกี่ยวกับการใช้สวัสดิการ, ฯลฯ เป็นต้น
6. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, การติดต่อกับหน่วยงานราชการ, ความรู้ด้านภาษีเงินได้, สิทธิเกี่ยวกับประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน, ฯลฯ เป็นต้น
บทสรุป
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ผู้บริหารควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกระบบ HRIS คือต้องแน่ใจว่าระบบดังกล่าว สามารถรองรับการทำงานที่องค์กรต้องการได้ เพราะเวลาที่มีการนำเสนอ ผู้พัฒนาระบบมักจะบอกว่า ระบบของตนทำอย่างนั้นได้ ทำอย่างนี้ได้ แต่มักจะไม่บอกว่า "ทำอย่างไร?" เมื่อติดตั้งระบบแล้ว ผู้ใข้จึงจะพบปัญหา ซึ่งก็อาจจะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร และกับบุคลากรขององค์กร เพระเราถือว่า ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม ถึงแม้องค์กรจะมีระบบที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าบุคลากรภายในองค์กรไม่มีคุณภาพ และการขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารแล้ว ระบบที่ดี ก็ไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/17622/
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร นั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจใดๆ กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเวลาและสถานการณ์ จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ในธุรกิจหลากหลายประเภทและขนาดจึงมีแผนกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งขนาดของแผนกหรือหน่วยงานนั้น จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเองรวมถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าสำคัญยิ่งยวดมากน้อยเพียงใด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทั้งทฤษฎีในเชิงวิชาการและแบบปฏิบัติในธุรกิจที่ศึกษาวิธีการบริหารแรงงานทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

http://kanjadkan.blogspot.com/2011_06_01_archive.html

http://kanjadkan.blogspot.com/2011_06_01_archive.html
กลยุทธ์ธุรกิจ
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กหลายคน คิดว่าการตลาดเหมือนกับการไปพบทันตแพทย์ ตรงที่จะต้องทำทุกๆ ครึ่งปี แต่ที่จริงแล้วการตลาดคือกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องมากกว่าทำๆ หยุดๆ ซึ่งทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างยากลำบาก หากลูกค้ามีการรับรู้ในเชิงบวกเกี่ยวกับชื่อเสียงของบริษัทคุณเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คุณก็สนทนาหรือเจรจาเพื่อปิดการขายกับลูกค้าของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น
การตลาดที่ต่อเนื่องไม่ใช่การติดคำโฆษณาสวยเก๋คู่กับป้ายสินค้าที่วางจำหน่าย แต่การตลาดคือการสื่อสารด้วยข้อความที่เหมาะสมกับคนที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่างหาก
การตลาดที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมากนั้นสามารถทำได้โดยใช้วิธีการต่อไปนี้
1. ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ – ทุกครั้งที่มีเราแสดงว่าเรายอมรับตัวตนของลูกค้า ลูกค้ามักจะตอบสนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกว่าจ่ายน้อยแต่ได้คุ้ม Denise McMillan เจ้าของธุรกิจจำหน่ายกระเป๋าพกพาแบบทำมือที่มีชื่อว่า Plush Creations (www.plushcreations.com) กล่าวว่า “แม้ธุรกิจจะดำเนินกิจการผ่านเว็บ แต่ก็สามารถให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าได้” เธอมักจะแนบถุงกุหลาบแห้งกลิ่นหอมขนาดเล็กๆ ไปกับกระเป๋าใส่เครื่องประดับและกระเป๋าใส่ชุดชั้นในที่เธอจำหน่ายพร้อมเขียนการ์ดด้วยลายมือว่า “ขอบคุณ” ไปด้วยเสมอ เธอคิดว่า “แม้ถุงเล็กๆ และกระดาษการ์ดจะมีราคาและต้องลงทุน แต่มันก็เพิ่มคุณค่าพิเศษลงไปเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าซื้อแล้วได้รับการรับรู้ว่าตนเองคือคนพิเศษ”
2. ออกแบบนามบัตรที่ลูกค้าดูแล้วรู้สึกอย่างเก็บ –คนส่วนใหญ่มักโยนนามบัตรทิ้งหลังจากได้รับจากประชุมเสร็จแล้วไม่กี่ชั่วโมง การสร้างนามบัตรที่ผู้รับรู้สึกอย่างเก็บเพราะมีประโยชน์น่าจะดีกว่า อย่างเช่น ทำสมุดฉีกที่มีหมายเลขติดต่อและคำโฆษณาธุรกิจไว้ทุกๆ หน้าแล้วออกแบบให้สวยงาม Elliott Black นักวางกลยุทธ์การตลาดจาก Northbrook รัฐ Illinois กล่าวว่า “สมุดฉีกที่เป็นนามบัตรไปด้วยในตัวนี้ เก็บไว้ใช้ได้นานอย่างน้อยก็ 30 วัน ช่วยให้ลูกค้าจำเราได้ดียิ่งขึ้น”
3. หยุดให้บริการลูกค้าที่เขาซื้อของเราแน่ๆ อยู่แล้ว แต่ให้หันความสนใจไปที่ลูกค้าที่ยังไม่ยอมซื้อสินค้าของเราให้มากขึ้น – หากความคิดนี้ทำให้คุณกังขา ขอให้คิดไตร่ตรองดูอีกที เพราะคุณอาจตกหลุมพราง โดยมัวแต่เพิ่มยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้ แต่กลับไม่เห็นผลกำไรให้งอกเงย หากคุณหยุดกิจกรรมการตลาดที่จะสื่อสารถึงลูกค้าเหล่านี้แล้ว คุณจะมีเวลาและทรัพยากรมากขึ้นไปกับลูกค้าที่จะที่ให้ธุรกิจเติบโต Michael King นักการตลาดจาก Atlanta กล่าวว่า “ร้อยละ 20 ของฐานลูกค้าในมือคุณคือกลุ่มที่สร้างยอดกำไรในแต่ละปีได้สูงถึงร้อยละ 150 ถึง 200 และร้อยละ 70 ของฐานลูกค้าคือกลุ่มที่ทำให้คุ้มทุน และอีกร้อยละ 10 คือกลุ่มที่สร้างกำไรร้อยละ 50 ถึง 100 ของยอดกำไรทั้งปี” ลองดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพในการเพิ่มผลกำไรในฐานลูกค้าของคุณอย่างละเอียดแล้วก็พุ่งเป้าให้บริการแบบ Premium Service ไปที่ลูกค้ากลุ่มนั้น พร้อมทั้งทำการตลาดอย่างเหมาะสมด้วย (Microsoft Outlook 2010 with Business Contact Manager สามารถวิเคราะห์ประวัติของลูกค้าคุณได้)
4. พัฒนาระบบระเบียนไปรษณีย์แล้วส่งจดหมายอย่างทั่วถึง - ธุรกิจส่วนใหญ่นิยมใช้จดหมายข่าวอิเล็กทรอกนิกส์หรือ e-newsletter และคุณก็คงเคยส่งมาบ้างแล้ว จดหมายประเภทนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุน แต่จริงๆ แล้วเพราะ กระแสการตลาดแบบ e-mail marketing กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย คุณสามารถโดดเด่นขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วโดยการส่งอีเมลส่วนตัวแบบธรรมดาๆ ไปหาลูกค้าตามโอกาส แค่แน่ใจว่าจดหมายที่ส่งไปมีสิ่งที่ลูกค้าอยากอ่าน ไม่ว่าจะเป็นผลการวิเคราะห์งานอีเวนต์ล่าสุด, ข้อเสนอพิเศษหรือใบเสร็จรับเงินที่ถูกปรับแต่งให้เข้ากับรสนิยมของลูกค้าอย่างสวยงาม Leslie Ungar ผู้เชี่ยวชาญจาก Ohio กล่าวว่า “การส่งเมลแบบนี้ ต้องมีคุณค่าพอที่จะเปิดอ่าน จึงต้องสะท้อนคุณค่าที่คุณจะหยิบยื่นให้ลูกค้า จำไว้ว่า วิธีขายที่ดีที่สุดคือการเล่าเรื่อง กระบวนการสร้างจะง่าย หากสร้างแม่แบบจดหมายเอาไว้หรือเตรียมแผ่น label จ่าหน้าซองโดยใช้โปรแกรม Word ใน Office 2010 เอามาพิมพ์เตรียมไว้ล่วงหน้า ส่วนรายชื่อระเบียนก็สามารถเก็บได้อย่างเป็นระบบโดยใช้ Excel ได้เช่นกันเพราะสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในโปรแกรม Word ได้อย่างสบายๆ
5. สร้างโปรไฟล์ที่ดีจากงาน Trade Show และงานประชุมใหญ่ๆ - คุณสามารถสร้างป้ายหรือโปสการ์ดที่มีข้อมูลติดต่อบริษัทของคุณพร้อมแทรกข่าวอัพเดทผลิตภัณฑ์หรือเว็บไซต์เล็กๆ ได้ จากโปรแกรม Publisher ได้เอง
6. รวมธุรกิจกับความสนุกเข้าด้วยกัน ในรูปแบบของงานการกุศล - เป็นผู้นำงานอีเวนต์ ปาร์ตี้ หรืองานประชุมด้วยเหตุผลที่คุณสนใจเป็นพิเศษ และแสดงให้ทุกคนได้รู้ถึงทักษะความเป็นผู้นำแห่งวงการธุรกิจขนาดเล็ก (small business leadership) ของคุณ ทาง Kate Koziol ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์จาก Chicago กล่าวว่า “ ฉันเป็นเจ้าภาพการแข่งเบสบอลโดยเชิญลูกค้าหลายร้อยคนเพื่อมาร่วมงาน Cubs game ที่สนาม Wrigley Field และเมื่อปีก่อน มีคนมา 300 คน และเราได้เงินรายได้มา 1 หมื่นเหรียญเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ในชนบท มีลูกค้าน้อยคนที่จะไม่ร่วมเล่นเกม ซึ่งนี่นับเป็นโอกาสในการสร้างสังคมที่ดียิ่ง มันทำให้ฉันได้พบปะลูกค้าปัจจุบันและสร้างความประทับใจให้คนที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคตด้วย”
7. สร้างจุดหมายปลายทาง - ร้านหนังสือ Barnes & Noble เปิดให้บริการขายกาแฟไปด้วย ร้านจำหน่ายเครื่องเรือน Ikea ให้บริการรับเลี้ยงเด็กอ่อนและโรงอาหารด้วย ทำไมน่ะหรือ? เพื่อให้ลูกค้าได้เกิดประสบการณ์ที่ดีและอยู่กับร้านนานๆ แล้วเช้าวันอาทิตย์ที่ Barnes & Noble จะดูรื่นรมย์มากกว่างานช้อปปิ้งธรรมดา Jay Lipe ที่ปรึกษาด้านการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจาก Minneapolis แนะนำว่า ด้วยการโฆษณาแบบ pay-per-click advertising จะช่วยให้คุณดึงคนมางานได้อย่างมากในต้นทุนที่ถูกลง Lipe สร้างเว็บไซต์เกมที่ชื่อ Games by James (www.gamesbyjames.biz) เพื่อจำหน่ายเกมในตลาดค้าปลีก และสามารถดึงดูดลูกค้าเข้ามาได้มากผ่านโฆษณาแบบ pay-per-click เขากล่าววว่า “ผลลัพธ์เห็นได้ชั่วข้ามคืน ซึ่งปกติในโลกของการตลาดทั่วไปแล้ว มันน่าจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนเลยทีเดียวเพื่อให้เกิด awareness แบบนี้ได้ แต่นี่เรากลับเห็นผลทันตาภายในชั่วข้ามคืนเท่านั้นเอง”
8. ทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องโลกออนไลน์ - นี่คือวิธีการที่ทำได้เอง “ฟรีๆ” ในการนำธุรกิจสู่ความสำเร็จ ลองหาข้อมูลจากอีเมลที่คุณเคยได้รับหรือข้อมูลจากเว็บบอร์ดออนไลน์ที่มีเนื้อหาตรงกับธุรกิจของคุณ จากนั้นลองเข้าไปในกลุ่ม community ต่างๆ แล้วโพสคำแนะนำดีๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบคำถามคาใจให้สมาชิกคนอื่นได้เข้าใจอย่างชัดเจนก็ได้ คุณอาจต้องคอยเข้าไปโพสหรือตอบบ่อยๆ สักระยะหนึ่งกว่าชื่อเสียงของคุณจะเป็นที่รู้จัก แต่รางวัลที่คุณจะได้รับนั้นคือคุณจะได้ลูกค้าและได้รับชื่อเสียงที่บอกต่อกันไปแบบปากต่อปาก Shel Horowitz ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจาก Northampton รัฐ Mass กล่าวว่า “การสนทนากันผ่านทาง e-mail discussion list คือแหล่งของข้อมูลในการหาลูกค้าของผมในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา”
9. เกาะติดสื่อมวลชนท้องถิ่น – บทความที่เขียนโดยบรรณาธิการมักมีความน่าเชื่อถือมากกว่าสำหรับลูกค้าหากเทียบกับหน้าโฆษณาที่มีการซื้อขายกันอย่างที่เห็นๆ หากต้องการได้สื่อท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ ได้เห็นคุณ คุณต้องมีเรื่องราวที่เหมาะกับเวลาสถานการณ์และเป็นเรื่องที่ใหม่ น่าสนใจ คุณจึงต้องมีนักสร้างเรื่องที่มีประสบการณ์เพื่อร่างเรื่องราว วางสื่อที่ต้องการจะออก และเขียน press release และส่งออกไปยังช่องทางต่างๆ คุณสามารถทำงานแบบนี้แบบระยะสั้นหรืออย่างต่อเนื่องก็ได้
10. อย่าปล่อยให้ลูกค้าหลุดมือไปได้ง่ายๆ - พยายามที่จะดึงลูกค้ากลับมา ค่าใช้จ่ายในการดึงลูกค้ากลับมานั้นถูกกว่าการแสวงหาลูกค้าใหม่มากนัก หากคุณไม่ได้ยินเสียงจากลูกค้าสักพักใหญ่ๆ ให้ส่งอีเมลที่ปรับแต่งให้เข้ากับรสนิยมของลูกค้าเพื่อสอบถามลูกค้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับลูกค้าที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี โปรดโทรศัพท์แล้วโทรไปยอมรับสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นว่าคุณได้รับทราบและถามว่าคุณสามารถทำอะไรเพื่อแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดได้บ้าง การมอบส่วนลด ก็อาจจะช่วยให้อะไรดีขึ้นได้ การใจดีต่อลูกค้าคือการตลาดที่ถูกที่สุดที่คุณสามารถทำได้

ระบบสารสนเทศทางการผลิต
ระบบสารสนเทศทางการผลิต
ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและการดำเนินงาน ตลอดจนกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ โดยจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและการดำเนินงาน
การจัดการผลิตและดำเนินงาน
การผลิตและการดำเนินงาน คือ กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือผู้บริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาดเป็นไปอย่างราบรื่น
กระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงานเพราะปัจจัยการผลิต คือ สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของระบบการผลิตนั่นเอง หากปัจจัยการผลิตของธุรกิจประกอบด้วย ทรัพยากรมนุษย์ทางด้านแรงงานและด้านบริหาร สินทรัพย์ประเภททุน ก็ยังมีสิ่งนำเข้ากระบวนการผลิตอื่นที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของธุรกิจ คือ ความคิดเห็นของลูกค้าภายในละภายนอกองค์การตลอดจนสารสนเทศด้านผลการประกอบการขององค์การ
วิวัฒนาการการผลิต
ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง เน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ เวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยการนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้และใช้วิธีการผลิตตามคำสั่งหรือวิธีการประกอบสินค้าตามคำสั่ง มาแทนที่การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง
กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน
จะเน้นถึงความต้องการของลูกค้าที่สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายระยะยาวขององค์การ อาศัยความร่วมมือจากแผนกการตลาดและการผลิตที่จะทำการค้นหาความต้องการของลูกค้าละนำมากำหนดเป็นความได้เปรียบทางการผลิต การผลิตตามความต้องการของลูกค้าและปริมาณการผลิตมีความยืดหยุ่น ซึ่งริทซ์แมนและกาจิวสกีจำแนกกลยุทธ์การผลิตเป็น 3 กลยุทธ์ ดังนี้
1. การเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ธุรกิจมักจะมีการผลิตสินค้าเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้าทันที เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก
2. การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อต ในปริมาณน้อยการออกแบบกระบวนการผลิตแต่ละครั้งจะขึ้นกับความต้องการของลูกค้า
3. การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน
หน้าที่ทางการผลิตและดำเนินงาน
นับเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่ก่อเกิดผลผลิตในรูปแบบของสินค้าหรือบริการ และจัดแบ่งหน้าที่เป็น 2 ด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต เน้นความพึงพอใจของลูกค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นหลัก โดยจัดแบ่งหน้าที่การผลิตดังนี้
1. การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยหาคำตอบว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าใด ผลิตอย่างไร เกิดความต้องการผลิตสินค้าและบริการเมื่อใด
2. การออกแบบกระบวนการผลิต เพื่อได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้าและมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
3. การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการผลิตในส่วนลดต้นทุนการขนส่ง และรักษาคุณภาพของวัสดุระหว่างการขนส่ง
4. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน โดยทำการวางแผนกำลังการผลิต การจัดสรรทรัพยากรการผลิตและการจัดตารางการผลิต เพื่อระบุวันเริ่มผลิตและส่งมอบสินค้า
5. การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ โดยเลือกใช้ระบบการจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือที่ดี มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการงานระหว่างทำ ซึ่งก็คือสินค้าที่ยังผลิตไม่เสร็จและจะต้องทำการผลิตต่อ โดยโดยเลือกใช้เทคโนโลยีในช่วยในการจัดการ
6. การควบคุมคุณภาพสินค้า โดยทำการควบคุมและรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
7. การลดต้นทุนการผลิต โดยทำการค้นหาวิธี หรือแนวคิดใดๆซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการลดต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการ
8. การขจัดความสูญเปล่าเป็นแนวคิดหนึ่งของระบบการผลิตสมัยใหม่ที่นำมาใช้อย่างได้ผลในปัจจุบัน โดยจะต้องออกแบบและดำเนินการตามมาตรการที่ลดความสูญเปล่าในโรงงาน
9. ความปลอดภัยในโรงงาน โยสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงานซึ่งสามารถช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในโรงงาน เช่น ISO 14000
10. การเพิ่มผลผลิตทางการผลิต โดยการแสวงหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในโรงงาน รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์อีกด้วย ซึ่งอาจใช้วิธีขจัดความสูญเปล่าเข้าช่วย
11. การบำรุงรักษา โดยมีการบำรุงรักษาระบบการแปรรูปผลผลิตให้คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ การดำเนินงานและความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง โดยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการผลิตหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส
12. การประสานงานกับหน่วยงานอื่น คือ หน้าที่ของฝ่ายผลิตที่จะต้องประสานงานกับฝ่ายตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ตลอดจนผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ
การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
การจัดการโซ่อุปทาน หมายถึง การกำหนดกระบวนการบูรณาการด้านการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่ง และการค้นคืนสินค้า โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับ
การจัดการโลจิสติกส์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน คือ การวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิผลของการไหลของสินค้า การจัดเก็บสินค้า การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดบริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ความแตกต่างของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คือ ในส่วนของขอบเขตการดำเนินงาน การจัดการโลจิสติกส์จะครอบคลุมเฉพาะภายในองค์การ แต่การจัดการโซ่อุปทานจะเป็นการบูรณาการงานที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ทั้งภายในและภายนอกองค์การเข้าด้วยกัน
ระบบการผลิตยุคใหม่ ปัจจุบันมี 2ระบบ คือ
1. ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า ซึ่งยึดหลักการสำคัญ คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการในเวลาที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด โครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี มีดังนี้
1.1 กรรมวิธีการผลิต 3 ประการ คือ
1. การปรับเรียบการผลิต หมายถึง ทำการผลิตเป็นล็อตเล็กๆ เพื่อสามารถตรวจสอบข้อบกพร่องและคุณภาพของผลผลิตได้ง่ายขึ้นสามารถตังเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนรุ่นและแบบของผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้ง
2. การออกแบบวิธีการและเครื่องมือการผลิต ให้พนักงานคนหนึ่งสามารถทำได้ลายหน้าที่
3. สร้างมาตรฐานของงานและควบคุมให้เสร็จตามเวลามาตรฐาน ณ รอบการผลิต
1.2 ระบบข้อมูลผลิต มีการนำแผ่นป้ายกันบังมาใช้สำหรับการสื่อสารการผลิต ระหว่างหน้าที่งานภายในโรงงาน
2. ระบบการผลิตแบบลีน เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าทำเกิดมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมุ่งขจัดความสูญเปล่าอันสืบเนื่องมาจากทั้งด้านคุณภาพ ราคา การจัดส่งสินค้าและบริการแก่ลูกค้า หลักการของระบบลีนมี 5 ข้อ ดังนี้
2.1 การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ โดยมีการชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะใช้วิธีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง
2.2 การแสดงสายธารคุณค่า โดยมีการจัดทำผังแห่งคุณค่า ซึ่งจะระบุถึงกิจกรรมที่ต้องกระทำทั้งหมด ตั้งแต่รับวัสดุเข้าโรงงาน จนกระทั่งมีการส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้า
2.3 การทำให้เกดการไหลของคุณค่าอย่างต่อเนื่อง คือ การมุ่งเน้นที่จะทำให้สายการผลิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาโดยปราศจากอุปสรรคขัดขวาง โดยใช้หลักการไหลของงานอย่างต่อเนื่อง
2.4 การให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่าจากกระบวนการ คือ จะทำการผลิตก็ต่อเมื่อลูกค้าเกิดความต้องการสินค้านั้น และผลิตในปริมาณเท่าที่ลูกค้าต้องการ จึงมีความสอดคล้องกับระบบการผลิตตามสั่ง
2.5 การสร้างคุณค่าและขจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง เป็นความพยายามของหน่วยผลิต ที่มุ่งมั่นด้านการเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการค้นพบความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นระหว่างผลิตและกำจัดความสูญเปล่านั้นให้มดสิ้นไป
สารสนเทศทางการผลิต
สารสนเทศทางการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการผลิต ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
การจำแนกประเภท
สารสนเทศสามารถจำแนกประเภทได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการดำเนินงานการผลิตในส่วนต่างๆ ดังนี้
1.1 สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต ครอบคลุมถึงสารสนเทศด้านการปฏิบัติการผลิตประจำวัน ต้นทุนการผลิต สินค้าสำเร็จรูป และงานระหว่างทำ
1.2 สารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ คือ สารสนเทศที่ระบุถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งถือเป็นหัวใจของการผลิต ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
1.3 สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงการผลิต ซึ่ง อาจจะต้องใช้เวลาและต้นทุนการค้นพบที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งมีการใช้อุปกรณ์พิเศษ
2. สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการวางแผนและจัดการผลิต ดังนี้
2.1 สารสนเทศด้านออกแบบการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้จากการปฏิบัติการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบกระบวนการผลิต และระบบการผลิตตาความต้องการของลูกค้า ตลอดจนการออกแบบผังโรงงาน เพื่อดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่นตามเป้าหมายที่วางไว้
2.2 สารสนเทศด้านวางแผนการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้จากการวางแผนการผลิตด้านต่างๆ
2.3 สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์ คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดหาและการขนส่งวัสดุเข้าโรงงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิต ตลอดจนการจัดเก็บและควบคุมสินค้าคงเหลือ
2.4 สารสนเทศด้านควบคุมการผลิต คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานด้านการควบคุมกระบวนการผลิต การควบคุมต้นทุนการผลิต รวมทั้งด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
3. สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.1 สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ คือ สารสนเทศที่ได้จากผู้ขายวัสดุ ภายในเครือข่ายด้านโซ่อุปทานขององค์การ
3.2 สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ คือ สารสนเทศที่ได้จากผู้ให้บริการขนส่งวัสดุ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ มี 5 ระบบ ดังนี้
1. ระบบออกแบบการผลิต
หน้าที่งานสำคัญของการผลิต คือ จะต้องมีการออกแบบการผลิตในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มงานด้านการวางแผนและการดำเนินการผลิต ซึ่งระบบการออกแบบการผลิต คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงหน้าที่ด้านการออกแบบในส่วนของผลิตภัณฑ์และระบบการผลิต โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ดี มีประสิทธิภาพ ซึ่งจำแนกระบบออกแบบการผลิตได้เป็น 2 กระบวนการ ดังนี้
1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ การกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาดในการดำเนินการวิจัยการตลาด
1.2 การออกแบบระบบการผลิต ระบบการผลิตหนึ่งๆจะประกอบด้วยส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน เช่น สภาพแวดล้อม ปัจจัยการผลิต
2. ระบบวางแผนการผลิต อาศัยวิธีการวางแผนการผลิตและมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตช่วยสนับสนุนหน้าที่งานส่วนต่างๆ ดังนี้
2.1 การวางแผนการผลิตรวม คือ การวางแผนอัตราการผลิต ปริมาณแรงงานและการจัดเก็บสินค้าคงคลัง โดยพิจารณาจากอุปสงค์หรือความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
2.2 การจัดตารางการผลิต เป็นการวางแผนระยะสั้นที่สอดคล้องกับแผนการผลิตรวมโดยคำนึงถึงการใช้กำลังการผลิตอย่างคุ้มค่าภายใต้ข้อจำกัดในการผลิต ซึ่งจะทำธุรกิจทราบถึงปริมาณงานผลิตในแต่ละสัปดาห์
2.3 การวางแผนความต้องการวัสดุ คือ การจัดการวัสดุคงคลัง ที่ความต้องการวัสดุนั้นขึ้นกับความต้องการวัสดุอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง
2.4 การวางแผนทรัพยากรการผลิต เนื่องจากปัจจุบันมีการดำเนินการผลิตที่ซับซ้อนขึ้น โดยเฉพาะในส่วนการผลิตสินค้าหลายๆรูปแบบตามความต้องการของลูกค้า
3. ระบบจัดการโลจิสติกส์ ระบบจัดการโลจิสติกส์ด้านการผลิต มี 2 ส่วนงาน คือ
3.1 โลจิสติกส์ขาเข้า มักเกี่ยวข้องกับธุรกิจระหว่างองค์การ คือ องค์การผู้ซื้อวัสดุ และองค์การผู้ขายวัสดุ ซึ่ง ใช้สนับสนุกิจกรรมภายในโซ่คุณค่าขององค์การ
3.2 การจัดการสินค้าคงเหลือ คือ การกำหนดถึงปริมาณของสินค้าคงเหลือ ซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้า ซึ่งสินค้าคงเหลือนี้อาจอยู่ในลักษณะของวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
4. ระบบดำเนินงานการผลิต ธุรกิจได้ทำการออกแบบการผลิต วางแผนการผลิต รวมทั้งมีการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตแล้ว ในขั้นต่อมาจะเป็นการดำเนินการผลิตสินค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการการผลิตและดำเนินงาน ที่มุ่งเน้นถึงการผลิตตามกระบวนการผลิตและตามแผนการผลิตต่างๆในส่วนการผลิตที่วางไว้
5. ระบบควบคุมการผลิต จะเน้นถึงการควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยใช้สารสนเทศทางการผลิตบางส่วน ระบบควบคุมการผลิตมีส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
5.1 การควบคุมปฏิบัติการการผลิต การผลิตภายในโรงงานมีการใช้ระบบสารสนเทศด้านการปฏิบัติการผลิตเพื่อติดตามร่องรอยการดำเนินงานการผลิตและการควบคุม
5.2 การควบคุมคุณภาพ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของวัสดุและชิ้นส่วนที่จัดหามาได้
5.3 การควบคุมต้นทุน ในการดำเนินการผลิตจะเกิดต้นทุนการผลิตหลัก คือ ต้นทุนค่าวัสดุ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน
5.4 การบำรุงรักษา คือ การซ่อมบำรุงเครื่องจักร หรืออุปกรณ์การผลิตให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในการทำงานและเป็นการรักษาความปลอดภัยในการทำงานด้วย

http://www2.cvc.ac.th/trsai/it/learning1/chapter2.htm

http://www2.cvc.ac.th/trsai/it/learning1/chapter2.htm
การจัดการโลจิสติกส์ !!
การบริหารการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) หมายถึง กระบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ การควบคุม และการควบคุมการทำงานขององค์กร รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล และธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวมและการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และการบริการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในปัจจุบันถือว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์เป็นกระบวนการย่อยหนึ่งในการจัดการสินค้าและบริการตลอดสายของโซ่อุปทาน
โลจิสติกส์ (logistics) คือ การพยากรณ์ การวางแผนการผลิต การจัดซื้อ บรรจุภัณฑ์ การเคลื่อนย้ายภายในองค์กร การผลิต คลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินคา การบริการลูกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวของกันแบบเป็นกระบวนการ การวัดผลงานการดำเนินงานในกระบวนการของบริษัททั้งหมด หรือทั้งซัพพลายเชน จะเห็นภาพขององค์การมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากกว่า การทำงานของแต่ละฝ่าย และมีการแบ่งขอบเขตของโลจิสติกส์ เป็น 2 กลุ่มกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้
1. การจัดการวัสดุ (Material Management)
2. การจัดการการกระจายสินค้า (Physical Distribution Management)

http://www.talaadthai.com/main/knowledgepage.aspx?id=164

http://www.talaadthai.com/main/knowledgepage.aspx?id=164
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)